วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

  คำถาม

             ทำไมเด็กต้องหนีเรียนหนีเรียนแล้วไปอยู่ไหน และมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร             

    
                         

  สาเหตุ

  ช่วงที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ทำหน้าที่สารวัตรนักเรียน(พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤติ)  ร่วมออกตรวจค้นหาเด็กหนีเรียนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ

   

        แนวปฏิบัติเมื่อพบเด็กหนีเรียนของคณะของผมที่ไปด้วย
 คือ จะมีการตำหนิ ดุด่าว่ากล่าว สั่งสอนตักเตือน
 พร้อมกับแจ้งโรงเรียน หรือ ผู้ปกครองให้ทราบ

       ผมมีความคิดเห็นว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
 ซึ่งเป็นการระงับปัญหาได้ชั่วคราว   จะแก้ปัญหาให้ยั่งยืน 
ต้องแก้ที่ต้นเหตุครับ

      เพราะปัญหาเด็กหนีเรียน   ต้นเหตุของการหนีเรียน
นักวิชาการได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าที่เด็กหนีเรียนเป็นเพราะ

      ๑. ปัญหาการเรียน  เรียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจาดเชาว์ปัญญาต่ำ

      ๒. เบื่อหน่ายการเรียนการสอน กฏระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน

      ๓. ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้   ไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

      ๔. ถูกชักจูงจากเพื่อนไปแหล่งที่มีความสุข สนุก น่าสนใจ
 กว่าในห้องเรียน

      ๕. ครอบครัวไม่มีความสุข   ขาดความรักความเข้าใจจากพ่อแม่

      การแก้ปัญหาเด็กหนีเรียนให้ตรงจุด  คงจะต้องแก้ให้ตรงกับสาเหตุดังกล่าวทั้ง ๕ ข้อ ข้างต้นครับ

       นั่นคือ  "ให้ความรัก ก่อน ให้ความรู้"

      เมื่อพบเด็กหนีเรียน ก็คงจะต้องซักถามพูดคุยอย่างเป็นกันเอง  ถึงสาเหตุที่หนีเรียน  เพื่อจะได้หาทางประสานร่วมมือกันแก้ให้ตรงจุด ระหว่างบ้าน และ โรงเรียน  โดยทำความเข้าใจร่วมกันกับโรงเรียน  ในเรื่องของการจะทำอย่างไรให้เด็กอยู่ในโรงเรียนอย่างมีความสุข   และ ทางบ้าน ในเรื่องของการให้ความรักความอบอุ่น

     

         ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนอยากเป็นคนดี และ ต้องการเป็นคนดี  แต่ที่เขาขาด คือ ขาดความรัก และ ขาดการยอมรับ

        เมื่อเขาได้รักความรัก และ การยอมรับ  จากทางบ้าน และ โรงเรียน  ผมว่าปัญหาหนีเรียนจะลดลงครับ   

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/290376
http://yupm104.blogspot.com/ปัญหาเด็กหนีเรียน

การเรียนคือการแข่งขันที่กดดันให้เด็กเป็นผู้แพ้มากกว่าผู้ชนะ

ทุกคนยอมรับว่าการเรียนเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นสำหรับเยาวชน แต่ว่าในระบบการแข่งขันนั้น มีค่านิยมที่ผิดๆว่าคนที่สอบเข้าเรียนต่อหรือว่าสอบได้ที่ 1 เท่านั้นคือคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียน ทำให้เด็กเป็นผู้แพ้มากกว่าเป็นผู้ชนะ เพราะในห้องเรียนต้องมีคนที่ได้ 1 เพียงแค่คนเดียวที่เหลือก็ต้องแพ้ หากในความเป็นจริงเด็กหรือมนุษย์ทุกคน มีสิ่งดีๆซ้อนอยู่ในตัวเองมากมาย ดังนั้นนอกจากจะให้เขาเรียนหนังสือได้ดีๆ แล้วควรจะส่งเสริมให้เขาได้ทำบางสิ่งบางอย่างที่เขาถนัด ที่เขามีความสามารถพิเศษ หรือมีพรสวรรค์ เพื่อให้พวกเขาได้สัมผัสความรู้สึกของการเป็นผู้ชนะบ้าง อย่างเช่น เด็กบางคนอาจจะเล่นหมากฮอสเก่ง เด็กบางคนอาจจะร้องเพลงเก่ง เด็กบางคนอาจจะเตะบอลเก่ง เหล่านี้อย่าไปดูถูกว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ดี พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ ควรส่งเสริมและให้โอกาสพวกเขาให้พบสิ่งที่ดี และก็ให้เขาประสบความสำเร็จ และชื่นชมยกย่องเมื่อเขามีสิ่งเหล่านั้น ดีกว่าจะกดดันหรือปล่อยให้พวกเขาไปแสวงหาชัยชนะข้างนอกด้วยตัวเอง

หนีเรียนเพราะไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน

                 ผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตของเยาวชนไทยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เรื่อง สำรวจกิจกรรมของเยาวชนที่กระทำในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ : กรณีศึกษาตัวอย่างทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาอายุระหว่าง 15 – 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นั้น พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหากับการหนีเรียนของเยาวชน ซึ่งพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งของการหนีเรียนน่าจะเกิดจากความรู้สึกไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน ทำให้เกิดความท้อแท้ หรือการถูกบังคับ ถูกกดดันจากพ่อแม่ผู้ปกครองในเรื่องการเรียน ก็น่าจะเป็นประเด็นที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

 
แก้ปัญหาเด็กหนีทำอย่างไร?

เมื่อพ่อแม่ทราบจากทางโรงเรียนว่าเด็กหนีโรงเรียนก็อย่าเพิ่งโมโห หรือทำโทษเด็กขอให้ตั้งสติ พยายามควบคุมอารมณ์โกรธของตนเองให้ได้ แล้วพยายามมองเด็กอย่างเข้าใจและเห็นใจ เรียกเด็กมาคุย บอกกับเด็กว่าพ่อกับแม่รักเขา สิ่งที่เกิดขึ้นเรามาช่วยกันคิด ช่วยกันหาสาเหตุ ที่แท้จริงของการหนีเรียน และ ช่วยกันแก้ไขเพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัว อย่างน้อยที่สุดพ่อและแม่ก็จะได้รับรู้อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดภายในใจของเด็กว่าเขารู้สึกอย่างไรและทำไมถึงมี พฤติกรรมอย่างนี้ ให้งดการลงโทษโดยการดุด่า หรือเฆี่ยนตีเด็กเด็ดขาดเพราะจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้พ่อแม่ควรประสานกับทางโรงเรียนให้จัดกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อให้เด็กได้เข้าไปมีส่วนร่วม เด็กจะได้รู้สึกว่าเขามีคุณค่าต่อตนเองและต่อโรงเรียน หรือหาครูพิเศษสอน ซ่อมเสริมในสิ่งที่เด็กเรียนตาม ไม่ทัน หากยังไม่ดีขึ้นให้ปรึกษากับอาจารย์แนะแนวของโรงเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือเฉพาะตัว หรืออาจพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจทั้งสภาพจิตใจและระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กเพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงจะได้ให้การช่วยเหลือเด็กให้ดีขึ้นต่อไป