วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจรเมื่อปรากฎข้อความอยู่ในช่องจราจรใด หมายความว่าให้ผุ้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวดับป้าย "หยุด"
รถที่ห้ามนำมาใช้ในทาง คือ
1.  รถที่มีสภาพที่ไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือ เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น
ี่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุดรถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทาง ราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น
2.  รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรื
 เครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อกับรถกำหนด
3.  รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
4.  รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราหรือรถที่ใช้ใน ราชการตำรวจ
5.  รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะน้อยกว่า 60 เมตร
6.  รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคน ขับด้วย)
7.  รถที่ได้เสียภาษีประจำปี
8.  รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง
ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.  ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้นหรือแนวที่ แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
2.  ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละผ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
3.  ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบ ทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
4.  กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่วนทางขับผ่านมาก่อน
การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ให้ปฏิบัติดังนี้
      ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนมาหากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสนทางรถ
ขับผ่านมาก่อน

 
ในดารขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถเว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ที่ผู้ขับขี่สามารถขับล้ำกึ่งกลางขอทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้
1.  ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
2.  ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
3.  ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

 
กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ผู้ขับขี่ที่ต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายสุดคือ1.  ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ที่ขับรถในทิศทางเดียวกัน
2.  ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ยกเว้น กรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางให้ขับรถในช่องทางเดินรถด้าน ซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจำทาง
เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร1.  ห้ามใช้เกียร์ว่าง
2.  ห้ามเหยียบคลัทซ์
3.  ห้าใช้เบรคตลอดเวลา
4.  ห้ามดับเครื่องยนต์
5.  ใช้เกียร์ต่ำ
6.  ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย
7.  ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา 
ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใดห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย
การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฎสัญญา หรือเครื่องหมายจราจรผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร1.  ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน
2.  ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไป ก่อน
ขอกำหนดความเร็วของรถในกรณีปกติ มีการกำหนดอย่างไร1.  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2.  นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด1.  ใบอนุญาตขับรถ
2.  สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ
การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่ กรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว
2.  สัญญาณมือ 
     - เลี้ยวขวาให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่
     - เลี้ยวซ้ายให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้าย หลายครั้ง
3.  การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันอื่น  เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร      ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาและให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนจึงจะเลียวซ้ายผ่านไปได้
ในการเลี้ยวรถผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่ากี่เมตร
     
 30  เมตร
บริเวณใดห้ามกลับรถ1.  ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมาหรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร
2.  ในเขตปลอดภัยหรือคับขัน
3.  บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
4.  บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้
5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
บริเวณใดห้ามแซง1.  ห้ามแซงด้านซ้าย เว้นแต่
     - รถที่ถูกแซมกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา
     -  ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่อทางเดินรถในทิศทางเดี่ยวกันตั้งแต่ 2 ช่อทางขึ้นไป
2.  ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้งเว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
3.  ห้ามแซมภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้าทางรถไฟ
4.  ห้ามแซมเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างได้ในระยะ 60 เมตร
5.  ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
6.  ห้ามแซมล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง
7.  ห้ามแซมในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ
ห้ามผู้ขับขี่รถในกรณีใด1.  ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน
2.  ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
3.  ในลักษณะกีดขวางการจราจร
4.  โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
5.  ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธีรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสอง ด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
6.  คล่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องรถ เว้นแต่เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
7.  บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารกคนป่วย หรือคนพิการ
8.  โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
9.  ในขณะที่เสพ หรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น (ยาบ้า)
10.ขับรถโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ
11.ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
12.ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก
13.ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร 
ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรปฏิบัติอย่างไรจอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป
ข้อห้ามของผู้ขับรถ
1.  ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถของตน
2.  ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทำขึ้นเอง
3.  ห้าให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน
4.  ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
2.  หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร
3.  จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร (เว้นแต่เป็นทางเดินรถทางเดียวและ เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้)
4.  ห้ามจอดในช่องทางเดินรถประจำทางในเวลาที่กำหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจำทาง
บริเวณใดห้ามจอดรถ
1.  บนทางเท้า
2.  บนสะดานหรือในอุโมงค์
3.  ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
4.  ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ
6.  ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
7.  ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
8.  ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
9.  จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน)
10.บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
11.ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจาปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง
12.ในที่คับขัน
13.ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร
14.ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
15.ในลักษณะกีดขวางการจราจร
16.จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถุสวนทางกัน
การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาด หรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
จอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถ หรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่จอดได้ชัดเจนไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ที่จอดรถจะต้องปฎิบัติอย่างไร
ผู้ขับขี่ที่จอดรถต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไปเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ
บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ
1.  ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
2.  บนทางเท้า
3.  บนสะพานหรือในอุโมงค์
4.  ในทางร่วมทางแยก
5.  ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
6.  ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
7.  ในเขตปลอดภัย
8.  ในลักษณะกีดขงวางการจราจร
การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  
มื่อจะลดความเร็วของรถให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
2. 
 เมื่อหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น
3. 
 เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลาย ครั้ง
4. 
 เมื่อจะเลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
5. 
 เมื่อจะเลี้ยวซ้าย หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบก
     ไปทางซ้ายหลายครั้ง
ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย)ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
การใช้เสียงสัญญาณของผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณอย่างไรใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้าใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้าใช้เสียงยาว หรือช้ำเกินควรแก่ความจำเป็น
การบรรทุกของผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร1.  ความกว้าง ได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ
2.  ความยาว
     -  ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ
     - ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร
3.  ความสูง  กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า 2.30 เมตร ให้ บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
4.  ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันคน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่อน รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้ เกิดเหตุเดือนร้อน รำคาญทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัย
หรือ
ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน
กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร1.  ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาง 45 เซนติเมตร
2.  ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนสนระยะ     150  เมตร
เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติอย่างไร1.  หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้าม หยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
2.  ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร
ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร1.  นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
2.  ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและแสดงเครื่องหมายดังนี้
     2.1  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอัน สีแดง หรือสีขาวที่ติดอ
ยู่
ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (ไฟฉุกเฉิน)
 
        
หรือติดตั้งป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ      
     
2.2  นอกเขต 2.1 ให้แสดงเครื่องหมายป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร 
         
 และให้สัญญาณไฟกระพริบ 
(ไฟฉุกเฉิน) ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจรน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโม ง 
         
การลากจูงรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร1.  การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากจูง
2.  การลากจูงรถที่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธีตามข้อ 1 หรือใช้สายพ่วงที่มีความยาวจากส่วนหน้าสุดของรถที่ 
ถูกลากหรือจูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร 
3.  ห้ามลากหรือจูงรถเกินกว่า 1 คัน


http://phuket.dlt.go.th/data/law3.htm

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

  คำถาม

             ทำไมเด็กต้องหนีเรียนหนีเรียนแล้วไปอยู่ไหน และมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร             

    
                         

  สาเหตุ

  ช่วงที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ทำหน้าที่สารวัตรนักเรียน(พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤติ)  ร่วมออกตรวจค้นหาเด็กหนีเรียนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ

   

        แนวปฏิบัติเมื่อพบเด็กหนีเรียนของคณะของผมที่ไปด้วย
 คือ จะมีการตำหนิ ดุด่าว่ากล่าว สั่งสอนตักเตือน
 พร้อมกับแจ้งโรงเรียน หรือ ผู้ปกครองให้ทราบ

       ผมมีความคิดเห็นว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
 ซึ่งเป็นการระงับปัญหาได้ชั่วคราว   จะแก้ปัญหาให้ยั่งยืน 
ต้องแก้ที่ต้นเหตุครับ

      เพราะปัญหาเด็กหนีเรียน   ต้นเหตุของการหนีเรียน
นักวิชาการได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าที่เด็กหนีเรียนเป็นเพราะ

      ๑. ปัญหาการเรียน  เรียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจาดเชาว์ปัญญาต่ำ

      ๒. เบื่อหน่ายการเรียนการสอน กฏระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน

      ๓. ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้   ไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

      ๔. ถูกชักจูงจากเพื่อนไปแหล่งที่มีความสุข สนุก น่าสนใจ
 กว่าในห้องเรียน

      ๕. ครอบครัวไม่มีความสุข   ขาดความรักความเข้าใจจากพ่อแม่

      การแก้ปัญหาเด็กหนีเรียนให้ตรงจุด  คงจะต้องแก้ให้ตรงกับสาเหตุดังกล่าวทั้ง ๕ ข้อ ข้างต้นครับ

       นั่นคือ  "ให้ความรัก ก่อน ให้ความรู้"

      เมื่อพบเด็กหนีเรียน ก็คงจะต้องซักถามพูดคุยอย่างเป็นกันเอง  ถึงสาเหตุที่หนีเรียน  เพื่อจะได้หาทางประสานร่วมมือกันแก้ให้ตรงจุด ระหว่างบ้าน และ โรงเรียน  โดยทำความเข้าใจร่วมกันกับโรงเรียน  ในเรื่องของการจะทำอย่างไรให้เด็กอยู่ในโรงเรียนอย่างมีความสุข   และ ทางบ้าน ในเรื่องของการให้ความรักความอบอุ่น

     

         ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนอยากเป็นคนดี และ ต้องการเป็นคนดี  แต่ที่เขาขาด คือ ขาดความรัก และ ขาดการยอมรับ

        เมื่อเขาได้รักความรัก และ การยอมรับ  จากทางบ้าน และ โรงเรียน  ผมว่าปัญหาหนีเรียนจะลดลงครับ   

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/290376
http://yupm104.blogspot.com/ปัญหาเด็กหนีเรียน

การเรียนคือการแข่งขันที่กดดันให้เด็กเป็นผู้แพ้มากกว่าผู้ชนะ

ทุกคนยอมรับว่าการเรียนเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นสำหรับเยาวชน แต่ว่าในระบบการแข่งขันนั้น มีค่านิยมที่ผิดๆว่าคนที่สอบเข้าเรียนต่อหรือว่าสอบได้ที่ 1 เท่านั้นคือคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียน ทำให้เด็กเป็นผู้แพ้มากกว่าเป็นผู้ชนะ เพราะในห้องเรียนต้องมีคนที่ได้ 1 เพียงแค่คนเดียวที่เหลือก็ต้องแพ้ หากในความเป็นจริงเด็กหรือมนุษย์ทุกคน มีสิ่งดีๆซ้อนอยู่ในตัวเองมากมาย ดังนั้นนอกจากจะให้เขาเรียนหนังสือได้ดีๆ แล้วควรจะส่งเสริมให้เขาได้ทำบางสิ่งบางอย่างที่เขาถนัด ที่เขามีความสามารถพิเศษ หรือมีพรสวรรค์ เพื่อให้พวกเขาได้สัมผัสความรู้สึกของการเป็นผู้ชนะบ้าง อย่างเช่น เด็กบางคนอาจจะเล่นหมากฮอสเก่ง เด็กบางคนอาจจะร้องเพลงเก่ง เด็กบางคนอาจจะเตะบอลเก่ง เหล่านี้อย่าไปดูถูกว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ดี พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ ควรส่งเสริมและให้โอกาสพวกเขาให้พบสิ่งที่ดี และก็ให้เขาประสบความสำเร็จ และชื่นชมยกย่องเมื่อเขามีสิ่งเหล่านั้น ดีกว่าจะกดดันหรือปล่อยให้พวกเขาไปแสวงหาชัยชนะข้างนอกด้วยตัวเอง

หนีเรียนเพราะไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน

                 ผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตของเยาวชนไทยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เรื่อง สำรวจกิจกรรมของเยาวชนที่กระทำในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ : กรณีศึกษาตัวอย่างทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาอายุระหว่าง 15 – 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นั้น พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหากับการหนีเรียนของเยาวชน ซึ่งพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งของการหนีเรียนน่าจะเกิดจากความรู้สึกไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน ทำให้เกิดความท้อแท้ หรือการถูกบังคับ ถูกกดดันจากพ่อแม่ผู้ปกครองในเรื่องการเรียน ก็น่าจะเป็นประเด็นที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

 
แก้ปัญหาเด็กหนีทำอย่างไร?

เมื่อพ่อแม่ทราบจากทางโรงเรียนว่าเด็กหนีโรงเรียนก็อย่าเพิ่งโมโห หรือทำโทษเด็กขอให้ตั้งสติ พยายามควบคุมอารมณ์โกรธของตนเองให้ได้ แล้วพยายามมองเด็กอย่างเข้าใจและเห็นใจ เรียกเด็กมาคุย บอกกับเด็กว่าพ่อกับแม่รักเขา สิ่งที่เกิดขึ้นเรามาช่วยกันคิด ช่วยกันหาสาเหตุ ที่แท้จริงของการหนีเรียน และ ช่วยกันแก้ไขเพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัว อย่างน้อยที่สุดพ่อและแม่ก็จะได้รับรู้อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดภายในใจของเด็กว่าเขารู้สึกอย่างไรและทำไมถึงมี พฤติกรรมอย่างนี้ ให้งดการลงโทษโดยการดุด่า หรือเฆี่ยนตีเด็กเด็ดขาดเพราะจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้พ่อแม่ควรประสานกับทางโรงเรียนให้จัดกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อให้เด็กได้เข้าไปมีส่วนร่วม เด็กจะได้รู้สึกว่าเขามีคุณค่าต่อตนเองและต่อโรงเรียน หรือหาครูพิเศษสอน ซ่อมเสริมในสิ่งที่เด็กเรียนตาม ไม่ทัน หากยังไม่ดีขึ้นให้ปรึกษากับอาจารย์แนะแนวของโรงเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือเฉพาะตัว หรืออาจพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจทั้งสภาพจิตใจและระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กเพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงจะได้ให้การช่วยเหลือเด็กให้ดีขึ้นต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

                                                                                ตั้งสมมุติฐาน
                               
                                     
                         ทำไมนักเรียนชอบหนีเรียนไปเที่ยว เกิดจากสาเหตุใดมากกว่ากันระหว่างครอบครัวหรือเพื่อน   เพราะเหตุใด   อย่างไร
                                                     
                                                                             
                                                                            สมมุติฐาน
           น่าจะเกิดจากเพื่อนๆมากกว่าปัญาหาครอบครัวเพราะได้อยุ่กับเพื่อนที่ชอบหนีเรียนไปเที่ยว
         เด็กจึงชวนกันหนีเรียนชวนกันไปเที่ยวตามคำที่เพื่อนชวนเชื่อเพื่อนมากกว่าครอบครัว
                                                                      ตั้งคำถาม

          1. ทำไมนักเรียนหญิงจึงแต่งตัวเรียบร้อยกว่านักเรียบชาย    เพราะเหตุใด






                2. ทำไมเด็กแว๊นต้องมาแว๊นตามถนนหลวง         เพราะเหตุใด






                3. ทำไมนักเรียนชอบหนีเรียนไปเที่ยว    เพราะเหตุใด



              

           เลือกข้อ 2 ทำไมเด็กแว๊นต้องมาแว๊นตามถนนหลวง   เพราะเหตุใด      เพราะ  ไม่มีสนามแข่ง  ไม่           มีผุ้สนับสนุนในการแข่งในสนาม   และมีปัญหาครอบครัว






วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปัญหาเด็กแว๊น
เด็กแว้น
1.เด็กแว๊นเกิดจาก อะไร
             2.มีเด๊กแว๊น สังคมจะเป็นอย่างไร 
        3.ทำไมถึงแว๊นตามถนนหลวง
4.ทำไมถึงต้องแว๊น       
5.มีเด็กแว๊นมันดีหรือไม่ 
ปัญหาเด็กหนีเรียน
1.ทำไมถึงหนีเรียน
2.หนีเรียนเพื่ออะไร
3.หนีแล้วจะไปไหน
4.หนีแล้วจะทำอะไร
5.พ่อแม่จะคิดอย่างไร









วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

                                                   ประวัติของสมาชิกในกลุ่ม 

                                                     
     

                                           
                                        ชื่อ ด.ช. กิตติศักดิ์  ดัชถุยาวัต
                                                  ชื่อเล่น  ชื่อ เปรม
                                                    ม.2/3   เลขที่ 1
                 โรงเรียนชะอวด   บ้านเลขที่30 หมุ่ 2ตำบล ท่าเสม็ด อำเภอ ชะอวด
                                               จังหวัด นครศรีธรรมราช
                                                         ชอบสีแดง
                                                   ชอบกีฬา  ฟุตบอล
                                                    สิ่งที่ชอบ  แข่งรถ
ิ    
ชื่อ ด.ช.พฤหัส ราชแป้น
ชื่อเล่น เป๊ปซี่   อยู่โรงเรียนชะอวด
บ้านเลขที่93 หมู่1 ตำบลบ้านชะอวด
จ นครศรีธรรมราช
ชอบสีเหลืือง
ชอบกีฬาฟุตบอล
สิ่งที่ชอบตีกลองชุด