ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจรเมื่อปรากฎข้อความอยู่ในช่องจราจรใด หมายความว่าให้ผุ้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวดับป้าย "หยุด" |
รถที่ห้ามนำมาใช้ในทาง คือ 1. รถที่มีสภาพที่ไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือ เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น ี่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุดรถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทาง ราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น 2. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรื เครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อกับรถกำหนดอ 3. รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ 4. รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราหรือรถที่ใช้ใน ราชการตำรวจ 5. รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะน้อยกว่า 60 เมตร 6. รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคน ขับด้วย) 7. รถที่ได้เสียภาษีประจำปี 8. รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง |
ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้นหรือแนวที่ แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก 2. ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละผ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย 3. ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบ ทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน 4. กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่วนทางขับผ่านมาก่อน |
การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ให้ปฏิบัติดังนี้ ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนมาหากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสนทางรถ ขับผ่านมาก่อน |
ในดารขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถเว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ที่ผู้ขับขี่สามารถขับล้ำกึ่งกลางขอทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้ 1. ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร 2. ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว 3. ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร |
กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ผู้ขับขี่ที่ต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายสุดคือ1. ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ที่ขับรถในทิศทางเดียวกัน
2. ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ยกเว้น กรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางให้ขับรถในช่องทางเดินรถด้าน ซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจำทาง |
เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร1. ห้ามใช้เกียร์ว่าง 2. ห้ามเหยียบคลัทซ์ 3. ห้าใช้เบรคตลอดเวลา 4. ห้ามดับเครื่องยนต์ 5. ใช้เกียร์ต่ำ 6. ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย 7. ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา |
ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใดห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย |
การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฎสัญญา หรือเครื่องหมายจราจรผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร1. ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน 2. ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไป ก่อน |
ขอกำหนดความเร็วของรถในกรณีปกติ มีการกำหนดอย่างไร1. ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 2. นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง |
ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด1. ใบอนุญาตขับรถ 2. สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ |
การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่ กรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว 2. สัญญาณมือ - เลี้ยวขวาให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่ - เลี้ยวซ้ายให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้าย หลายครั้ง 3. การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันอื่น เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร |
เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาและให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนจึงจะเลียวซ้ายผ่านไปได้ |
ในการเลี้ยวรถผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่ากี่เมตร 30 เมตร |
บริเวณใดห้ามกลับรถ1. ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมาหรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร 2. ในเขตปลอดภัยหรือคับขัน 3. บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน 4. บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้ 5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ |
บริเวณใดห้ามแซง1. ห้ามแซงด้านซ้าย เว้นแต่ - รถที่ถูกแซมกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา - ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่อทางเดินรถในทิศทางเดี่ยวกันตั้งแต่ 2 ช่อทางขึ้นไป 2. ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้งเว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ 3. ห้ามแซมภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้าทางรถไฟ 4. ห้ามแซมเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างได้ในระยะ 60 เมตร 5. ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย 6. ห้ามแซมล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง 7. ห้ามแซมในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ |
ห้ามผู้ขับขี่รถในกรณีใด1. ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน 2. ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น 3. ในลักษณะกีดขวางการจราจร 4. โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน 5. ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธีรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสอง ด้านได้พอแก่ความปลอดภัย 6. คล่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องรถ เว้นแต่เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ 7. บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารกคนป่วย หรือคนพิการ 8. โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น 9. ในขณะที่เสพ หรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น (ยาบ้า) 10.ขับรถโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ 11.ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร 12.ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก 13.ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร |
ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรปฏิบัติอย่างไรจอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป |
ข้อห้ามของผู้ขับรถ 1. ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถของตน 2. ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทำขึ้นเอง 3. ห้าให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน 4. ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน |
เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร 2. หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร 3. จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร (เว้นแต่เป็นทางเดินรถทางเดียวและ เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้) 4. ห้ามจอดในช่องทางเดินรถประจำทางในเวลาที่กำหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจำทาง |
บริเวณใดห้ามจอดรถ 1. บนทางเท้า 2. บนสะดานหรือในอุโมงค์ 3. ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก 4. ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม 5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ 6. ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง 7. ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร 8. ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน 9. จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน) 10.บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ 11.ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจาปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง 12.ในที่คับขัน 13.ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร 14.ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์ 15.ในลักษณะกีดขวางการจราจร 16.จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถุสวนทางกัน |
การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาด หรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร จอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง |
ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถ หรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่จอดได้ชัดเจนไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ที่จอดรถจะต้องปฎิบัติอย่างไร ผู้ขับขี่ที่จอดรถต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไปเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ |
บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ 1. ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง 2. บนทางเท้า 3. บนสะพานหรือในอุโมงค์ 4. ในทางร่วมทางแยก 5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ 6. ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ 7. ในเขตปลอดภัย 8. ในลักษณะกีดขงวางการจราจร |
การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. เมื่อจะลดความเร็วของรถให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง 2. เมื่อหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น 3. เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลาย ครั้ง 4. เมื่อจะเลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ 5. เมื่อจะเลี้ยวซ้าย หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบก ไปทางซ้ายหลายครั้ง |
ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย)ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร |
การใช้เสียงสัญญาณของผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณอย่างไรใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้าใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้าใช้เสียงยาว หรือช้ำเกินควรแก่ความจำเป็น |
การบรรทุกของผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร1. ความกว้าง ได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ 2. ความยาว - ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ - ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร 3. ความสูง กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า 2.30 เมตร ให้ บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร 4. ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันคน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่อน รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้ เกิดเหตุเดือนร้อน รำคาญทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยหรือ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน |
กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร1. ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาง 45 เซนติเมตร 2. ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนสนระยะ 150 เมตร |
เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติอย่างไร1. หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้าม หยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก 2. ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร |
ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร1. นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด 2. ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและแสดงเครื่องหมายดังนี้ 2.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอัน สีแดง หรือสีขาวที่ติดอยู่ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (ไฟฉุกเฉิน) หรือติดตั้งป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ 2.2 นอกเขต 2.1 ให้แสดงเครื่องหมายป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร และให้สัญญาณไฟกระพริบ (ไฟฉุกเฉิน) ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจรน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโม ง |
การลากจูงรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร1. การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากจูง 2. การลากจูงรถที่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธีตามข้อ 1 หรือใช้สายพ่วงที่มีความยาวจากส่วนหน้าสุดของรถที่ ถูกลากหรือจูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร 3. ห้ามลากหรือจูงรถเกินกว่า 1 คัน http://phuket.dlt.go.th/data/law3.htm |
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558
คำถาม
ทำไมเด็กต้องหนีเรียนหนีเรียนแล้วไปอยู่ไหน และมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรสาเหตุ
ช่วงที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ทำหน้าที่สารวัตรนักเรียน(พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤติ) ร่วมออกตรวจค้นหาเด็กหนีเรียนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
แนวปฏิบัติเมื่อพบเด็กหนีเรียนของคณะของผมที่ไปด้วย
คือ จะมีการตำหนิ ดุด่าว่ากล่าว สั่งสอนตักเตือน
พร้อมกับแจ้งโรงเรียน หรือ ผู้ปกครองให้ทราบ
ผมมีความคิดเห็นว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
ซึ่งเป็นการระงับปัญหาได้ชั่วคราว จะแก้ปัญหาให้ยั่งยืน
ต้องแก้ที่ต้นเหตุครับ
เพราะปัญหาเด็กหนีเรียน ต้นเหตุของการหนีเรียน
นักวิชาการได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าที่เด็กหนีเรียนเป็นเพราะ
๑. ปัญหาการเรียน เรียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจาดเชาว์ปัญญาต่ำ
๒. เบื่อหน่ายการเรียนการสอน กฏระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน
๓. ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม
๔. ถูกชักจูงจากเพื่อนไปแหล่งที่มีความสุข สนุก น่าสนใจ
กว่าในห้องเรียน
๕. ครอบครัวไม่มีความสุข ขาดความรักความเข้าใจจากพ่อแม่
การแก้ปัญหาเด็กหนีเรียนให้ตรงจุด คงจะต้องแก้ให้ตรงกับสาเหตุดังกล่าวทั้ง ๕ ข้อ ข้างต้นครับ
นั่นคือ "ให้ความรัก ก่อน ให้ความรู้"
เมื่อพบเด็กหนีเรียน ก็คงจะต้องซักถามพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ถึงสาเหตุที่หนีเรียน เพื่อจะได้หาทางประสานร่วมมือกันแก้ให้ตรงจุด ระหว่างบ้าน และ โรงเรียน โดยทำความเข้าใจร่วมกันกับโรงเรียน ในเรื่องของการจะทำอย่างไรให้เด็กอยู่ในโรงเรียนอย่างมีความสุข และ ทางบ้าน ในเรื่องของการให้ความรักความอบอุ่น
ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนอยากเป็นคนดี และ ต้องการเป็นคนดี แต่ที่เขาขาด คือ ขาดความรัก และ ขาดการยอมรับ
เมื่อเขาได้รักความรัก และ การยอมรับ จากทางบ้าน และ โรงเรียน ผมว่าปัญหาหนีเรียนจะลดลงครับ
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/290376http://yupm104.blogspot.com/ปัญหาเด็กหนีเรียน
การเรียนคือการแข่งขันที่กดดันให้เด็กเป็นผู้แพ้มากกว่าผู้ชนะ
ทุกคนยอมรับว่าการเรียนเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นสำหรับเยาวชน แต่ว่าในระบบการแข่งขันนั้น มีค่านิยมที่ผิดๆว่าคนที่สอบเข้าเรียนต่อหรือว่าสอบได้ที่ 1 เท่านั้นคือคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียน ทำให้เด็กเป็นผู้แพ้มากกว่าเป็นผู้ชนะ เพราะในห้องเรียนต้องมีคนที่ได้ 1 เพียงแค่คนเดียวที่เหลือก็ต้องแพ้ หากในความเป็นจริงเด็กหรือมนุษย์ทุกคน มีสิ่งดีๆซ้อนอยู่ในตัวเองมากมาย ดังนั้นนอกจากจะให้เขาเรียนหนังสือได้ดีๆ แล้วควรจะส่งเสริมให้เขาได้ทำบางสิ่งบางอย่างที่เขาถนัด ที่เขามีความสามารถพิเศษ หรือมีพรสวรรค์ เพื่อให้พวกเขาได้สัมผัสความรู้สึกของการเป็นผู้ชนะบ้าง อย่างเช่น เด็กบางคนอาจจะเล่นหมากฮอสเก่ง เด็กบางคนอาจจะร้องเพลงเก่ง เด็กบางคนอาจจะเตะบอลเก่ง เหล่านี้อย่าไปดูถูกว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ดี พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ ควรส่งเสริมและให้โอกาสพวกเขาให้พบสิ่งที่ดี และก็ให้เขาประสบความสำเร็จ และชื่นชมยกย่องเมื่อเขามีสิ่งเหล่านั้น ดีกว่าจะกดดันหรือปล่อยให้พวกเขาไปแสวงหาชัยชนะข้างนอกด้วยตัวเอง
หนีเรียนเพราะไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน
ผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตของเยาวชนไทยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เรื่อง สำรวจกิจกรรมของเยาวชนที่กระทำในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ : กรณีศึกษาตัวอย่างทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาอายุระหว่าง 15 – 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นั้น พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหากับการหนีเรียนของเยาวชน ซึ่งพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งของการหนีเรียนน่าจะเกิดจากความรู้สึกไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน ทำให้เกิดความท้อแท้ หรือการถูกบังคับ ถูกกดดันจากพ่อแม่ผู้ปกครองในเรื่องการเรียน ก็น่าจะเป็นประเด็นที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
แก้ปัญหาเด็กหนีทำอย่างไร?
เมื่อพ่อแม่ทราบจากทางโรงเรียนว่าเด็กหนีโรงเรียนก็อย่าเพิ่งโมโห หรือทำโทษเด็กขอให้ตั้งสติ พยายามควบคุมอารมณ์โกรธของตนเองให้ได้ แล้วพยายามมองเด็กอย่างเข้าใจและเห็นใจ เรียกเด็กมาคุย บอกกับเด็กว่าพ่อกับแม่รักเขา สิ่งที่เกิดขึ้นเรามาช่วยกันคิด ช่วยกันหาสาเหตุ ที่แท้จริงของการหนีเรียน และ ช่วยกันแก้ไขเพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัว อย่างน้อยที่สุดพ่อและแม่ก็จะได้รับรู้อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดภายในใจของเด็กว่าเขารู้สึกอย่างไรและทำไมถึงมี พฤติกรรมอย่างนี้ ให้งดการลงโทษโดยการดุด่า หรือเฆี่ยนตีเด็กเด็ดขาดเพราะจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้พ่อแม่ควรประสานกับทางโรงเรียนให้จัดกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อให้เด็กได้เข้าไปมีส่วนร่วม เด็กจะได้รู้สึกว่าเขามีคุณค่าต่อตนเองและต่อโรงเรียน หรือหาครูพิเศษสอน ซ่อมเสริมในสิ่งที่เด็กเรียนตาม ไม่ทัน หากยังไม่ดีขึ้นให้ปรึกษากับอาจารย์แนะแนวของโรงเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือเฉพาะตัว หรืออาจพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจทั้งสภาพจิตใจและระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กเพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงจะได้ให้การช่วยเหลือเด็กให้ดีขึ้นต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)